อาจินต์ ปัญจพรรค์
เกิดเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2470
อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
นามปากกา จินตเทพ แพร
ประวัติ : อาจินต์ ปัญจพรรค์ เกิดเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2470 ที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรชายของขุนปัญจพรรค์พิบูล อดีตนายอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และข้าหลวงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดนครปฐม (มาติณ ถีนิติ) กับนางกระแส ปัญจพรรค์ (โกมารทัต) มีพี่น้องร่วมบิดามารดา คือ ชอุ่ม ปัญจพรรค์ พล.ต.ท.ลัดดา ปัญจพรรค์ และวัฒนา ปัญจพรรค์ [1]
เรียนชั้นประถมที่โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย แล้วมาต่อมัธยมที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ ปากคลองตลาด โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและเข้าเรียนต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงเวลาตอนที่อาจินต์กำลังเรียนอยู่ชั้นปีที่สองนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัยงดการเรียนการสอน นิสิตต่างพากันกลับบ้านเกิดเพื่อหนีการทิ้งระเบิดเพื่อทำลายจุดยุทธศาสตร์สำคัญในกรุงเทพ เมื่อภาวะสงครามสงบอาจินต์กลับมาเรียนอีกครั้ง แต่การใช้ชีวิตในช่วงหลบหนีนั้นกลับทำให้อาจินต์ไม่สามารถเรียนได้ดีจึงถูกรีไทร์ บิดาจึงส่งอาจินต์ไปทำงานหนักในเหมืองแร่เพื่อดัดนิสัยที่จังหวัดพังงา อาจินต์ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ในช่วงเวลาดังกล่าวมาเขียนในเรื่องสั้นชุดเหมืองแร่
เคยเป็นบรรณาธิการหนังสือฟ้าเมืองไทย นิตยสารรายสัปดาห์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงเมื่อ พ.ศ. 2512-2531ชีวิตส่วนตัว อาศัยอยู่ที่บ้านสุทธิสาร กับภริยา ไม่มีบุตร คติคือ "ทำอะไรทำจริง"
ผลงาน :
งานเขียนครั้งแรก
- เรื่องสั้น “ในทะเลมีเศรษฐศาสตร์” ในนามปากกา จินตเทพ แพร
ผลงานรวมเล่ม
รวมเรืองสั้น
- ตะลุยเหมืองแร่
- เหมืองน้ำหมึก
- เสียงเรียกจากเหมืองแร่
- สวัสดีเหมืองแร่
- ลุยทะเลคน
- เดี่ยวเหมืองแร่
- เหมืองมนุษย์
- หมึกกระจาย
- เจ้านกขมิ้นจากเหมืองแร่
- ไกลเตียง
- จุฬาฯปฏิเสธข้าพเจ้า
- กลับไปสู่เหมืองแร่
- นิสิตเถื่อน
- เหมืองแร่ ฉบับสมบูรณ์ ฯลฯ
นวนิยาย
- ใต้แผ่นดิน
- ในเหมืองแร่มีนิยาย
- เลือดในดิน
- เจ้าพ่อ
- เจ้าเมือง
- เหมืองทองแดง ฯลฯ
สารคดี
- ธุรกิจบนขาอ่อน
- ตะลุยอเมริกา
- ผ่าตัดรัสเซีย
- เจ้าหนู
- แม่น้ำยามศึก ฯลฯ
บทความ
- ปรัชญาไส
- ยักษ์ปากเหลี่ยม
- บอมบ์กรุงเทพฯ
- การหลงทางอันแสนสุข ฯลฯ
เรื่องแปล
- ลูกฝรั่งช่างพูด ฯลฯ
เกียรติยศที่ได้รับ
- สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เมื่อพ.ศ. 2534
- ได้รับยกย่องเป็นนักเขียนรางวัล “ศรีบูรพา” ปี พ.ศ. 2535