ตัวเลือกสินค้า

ซะการีย์ยา อมตยา

เรียงตาม แนะนำ

  • เรียงตาม แนะนำ
  • เรียงตาม ราคาขาย
  • เรียงตาม วันที่ขาย
  • เรียงตาม ชื่อสินค้า
  • เรียงตาม ขายดี
  • เรียงตาม ให้คะแนน

แสดง 1 ถึง 6 จาก 6 รายการ

ซะการีย์ยา อมตยา  บนเส้นทางแห่งกวีนิพนธ์
     ทีมข่าวบันเทิง-วรรณกรรม หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน พาไปพูดคุยกับหนึ่งในกวี ผู้มีผลงานเข้ารอบสุดท้ายซีไรต์ครั้งล่าสุด
"ฉันกำลังเดินทางในบทกวี 
บทกวีกำลังเดินทางในฉัน 
เราต่างมุ่งหน้าสู่ปลายทางเดียวกัน"
     สามบรรทัดข้างต้น ปรากฏอยู่ในหน้าแรกของ "ไม่มีหญิงสาวในบทกวี" บทกวีไร้ฉันทลักษณ์ เนื้อหาชวนครุ่นคิดที่ผสานหลากอารมณ์ ผ่านกลวิธีการเล่าซึ่งกล้าเล่นกับรูปแบบ หนึ่งใน 6 เล่มสุดท้ายรางวัลซีไรต์ปีนี้ และเป็นเสมือนคำแนะนำตัวเล็กๆ จากชายหนุ่มเคราครึ้มเจ้าของรอยยิ้มละมุน ก่อนที่ผู้อ่านจะก้าวล่วงเข้าไปในเส้นทางที่เขาและ "บทกวี" ร่วมเดินด้วยกันมากว่า 10 ปี
      "ซะการีย์ยา อมตยา" จากเด็กน้อยแห่งเมืองนราธิวาส ที่พิสมัยการปีนเทือกเขาบูโด เขาตัดสินใจก้าวไปหาประสบการณ์ใหม่ หลังยุติการเรียนที่คณะนิติศาสตร์ ม.รามคำแหง เพราะสิ่งที่เรียนทำให้คิดว่า "กฎหมายบางข้อไม่ยุติธรรม"  และ 5 ปีที่ศึกษาในคณะ "อิสลามศาสตร์ สาขาภาษาและวรรณคดีอาหรับ" (Islamic Sciences, Arabic Language and Literature) จาก Darul Uloom Nadwatul Ulama ประเทศอินเดีย ก็เป็นส่วนสำคัญที่หล่อหลอมตัวตน
     "สมัยเรียนมัธยมรู้สึกว่ากวีนิพนธ์ไม่น่าสนใจเท่าไหร่ แต่พอไปอินเดียความรู้สึกเปลี่ยน จำได้ว่าเข้าเรียนวันแรกก็ไปซื้อกวีนิพนธ์มาเลย เป็นเล่มที่อธิการบดีของมหาวิทยาลัยเขียนถึง "มุฮัมมัด อิกบาล" รุ่นพี่บอกว่ายาก เลยท้าทายต้องอ่านให้ได้ ปรากฏว่ากว่าจะอ่านเข้าใจก็เรียนปีสุดท้ายแล้ว" ว่าแล้วก็หัวเราะนิดๆ ซะการีย์ยาใช้ชีวิตท่ามกลางภาษาและวัฒนธรรมที่ไม่คุ้นเคย บางครั้งความเหงาก็มาทักทายกันบ้าง ทว่าทุกความรู้สึกก็นำเขาไปสู่จุดเริ่มต้นของเส้นทางสายนี้ กับบทรำพันที่แอบเขียนในชั่วโมงเรียนและการอ่านบทกวีอาหรับในกิจกรรมนักศึกษา ถึงแม้จะยังไม่รู้ตัวก็ตาม เพราะตอนนั้นคิดว่าจะไปเป็น "สะพาน"
     "ปีสุดท้ายอาจารย์ถามว่าจบแล้วจะไปเป็นอะไร ผมตอบไปว่าจะเป็นสะพานที่ทอดผ่านระหว่างคนสองฝั่ง คือคิดว่าอยากจะแปลงาน เป็นสะพานทางความคิดและภาษา เชื่อมระหว่างวัฒนธรรม แต่ก็ไม่ได้คิดว่าจะมาเขียนเต็มตัวแบบนี้"
     เมื่อกลับมาเมืองไทยนอกจากจะแปลหนังสือแล้ว "ปุถุชน" กลายเป็นนามแฝงที่เขาใช้โพสท์บทกวีตามหน้าเว็บไซต์ต่างๆ กว่าสองปี เสียงวิจารณ์ที่กลับมาทำให้คิดว่าน่าจะถึงเวลาส่งบทกวีไปให้สังคมสาธารณะได้พิจารณาบ้าง และกลายจุดเริ่มต้นของสะพานที่เขากำลังทำหน้าที่ถึงตอนนี้
     "แรกๆ ที่โพสท์เพราะอยากเขียนให้คนอื่นอ่าน แต่นั่นคือสนามหนึ่งเท่านั้น ที่สุดแล้วก็ให้ค่ากับพื้นที่ในกระดาษ เพราะอยากได้อะไรที่จริงจังมากกว่าชอบไม่ชอบ ถึงการพิจารณาจะเป็นรสนิยมส่วนตัวของบรรณาธิการ แต่ถ้าไม่ผ่านอย่างน้อยก็ทำให้เราต้องมาพิจารณางานตัวเองด้วยว่าเพราะอะไร คนเขียนส่วนใหญ่มองตัวเองไม่ขาดหรอก เหมือนเล่มนี้ก็ทั้งคัดทั้งกรองกันสองรอบ" เขาอธิบาย นอกจากระบบบรรณาธิการแล้ว ซะการีย์ยายังให้ความสำคัญกับการวิจารณ์ เพราะเชื่อว่านี่คือส่วนหนึ่งของการเติบโต ทว่านั่นกลับเป็นสิ่งที่สังคมการอ่านเขียนในบ้านเมืองนี้กำลังขาดแคลน โดยเฉพาะในงานประเภทกวี ขนาดปีนี้พิมพ์บทกวีเยอะ (ตามฤดูกาลของซีไรต์) และมีงานหลายเล่มที่น่าสนใจแม้จะไม่เข้ารอบรางวัลใหญ่ ก็ยังแทบไม่มีเสียงสะท้อนกลับมา นอกจากบทวิจารณ์ของ "อ.สกุล บุณยทัต" อาจเพราะกวีนิพนธ์เป็นศาสตร์ที่ยากจะวิจารณ์ เรื่องสั้นนิยายดีไม่ดีจะบอกได้ง่ายกว่า คือจะมองฉันทลักษณ์นั่นก็เป็นเชิงโครงสร้าง เชิงช่างในการสร้างงานศิลปะเท่านั้น ทั้งที่จำเป็นมากจะให้อ่าน ให้เข้าใจ ให้รู้จักความลึกซึ้งที่มากกว่าโครงสร้าง ต้องไปแก้กันที่จุดเริ่มต้นอย่าง ตำราเรียน ตอนนี้กวีนิพนธ์ร่วมสมัยเกิดขึ้นเยอะมาก แต่ไม่ถูกหยิบยกมาอยู่ในกระแสหลักของการศึกษา บางคนอ่านแล้วก็ถามว่า เฮ้ย นี่คือบทกวีด้วยเหรอ.. เขาว่าพลางหัวเราะ และการเรียนทั้งประเทศในหลักสูตรเดียวกันนี้ นอกจากส่งผลถึงรสนิยมรวมหมู่แล้ว ยังส่งผลถึงการพัฒนางานกวีด้วย นิยายกับเรื่องสั้นไปไกลแล้ว แต่กวีนิพนธ์ยังไม่ไกลเท่า อาจเพราะนิยาย,เรื่องสั้นไม่ใช่ศาสตร์ของเรา เลยรับสิ่งใหม่ได้ไม่ยาก แต่กวีเป็นศาสตร์ดั้งเดิมเลยยากที่จะปล่อยวางและเปิดกว้าง เพราะรู้สึกว่าที่เรามีนั้นสมบูรณ์แบบที่สุดแล้ว เรายังกอดตัวเอง หวงแหนในสิ่งที่ตัวมีมากไป บทกวีขนบคือศิลปศาสตร์ที่สั่งสมกันมายาวนาน แต่ก็ควรเปิดให้เด็กๆ ได้เห็นถึงสิ่งอื่นที่ต่างไปด้วย เรียนรู้ควบคู่กันไปในกระแสหลัก เป็นอีกแขนงของบทกวี  เพราะใจที่เปิดกว้าง จะทำให้ได้สิ่งที่กว้างกว่ากลับมา
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว