ตัวเลือกสินค้า

เอโดะงาวะ รัมโป

เรียงตาม แนะนำ

  • เรียงตาม แนะนำ
  • เรียงตาม ราคาขาย
  • เรียงตาม วันที่ขาย
  • เรียงตาม ชื่อสินค้า
  • เรียงตาม ขายดี
  • เรียงตาม ให้คะแนน

แสดง 1 ถึง 10 จาก 10 รายการ

เอโดะงาวะ รัมโป เกิดเมื่อวันที่ 21 เดือนตุลาคม ปีเมจิที่ 27 (ค.ศ.1894) ที่จังหวัดมิเอะ ชื่อเดิมคือ ฮิราอิ ทาโร่ครอบครัวฮิราอิสืบเชื้อสายจากซามูไรผู้รับใช้ตระกูลโทโดไดเมียวแห่งแคว้นซึ (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดมิเอะ) รัมโปใช้ชีวิตในวัยเด็กในช่วงทศวรรษที่ 30 แห่งรัชสมัยเมจิ อันเป็นช่วงเวลาที่ประชากรเริ่มอยู่รวมกันหนาแน่นตามเมืองใหญ่ นำมาซึ่งความเจริญฟุ้งเฟ้อและสะดวกสบาย ในแง่ของวงการสื่อสารมวลชน หนังสือพิมพ์หัวต่างๆ พากันเพิ่มจำนวนพิมพ์แข่งขันกัน ท่ามกลางสถานการณ์นั้น สิ่งหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างยิ่งจากผู้อ่านคือนวนิยายซึ่งลงเป็นตอนๆในฉบับเนื่องจากเป็นเสมือนพื้นที่ใกล้ตัวให้ชาวบ้านร้านตลาดเข้าถึงวรรณกรรมได้ง่าย มีเรื่องเล่าว่ารัมโปซึ่งขณะนั้นยังเป็นเด็กชายทาโร่ ชอบให้แม่อ่านนวนิยายในหนังสือพิมพ์ให้ฟังอยู่เสมอ และนี่เองคือจุดเริ่มต้นทำให้เขาเกิดความสนใจในงานวรรณกรรม ขณะเป็นนักศึกษาขณะการเมืองและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเซดะ รัมโปได้พบสิ่งที่มีอนุภาพทำให้ชีวิตของเขาพลิกผันโดยสิ้นเชิง นั่นคือนวนิยายเรื่อง The Gold Bug (ฉบับแปลภาษาไทยชื่อว่า รหัสลับแมลงหัวกระโหลก แปลโดย แดนอรัญ แสงทอง สำนักพิมพ์ตัวเล็ก) เขียน โดย เอดการ์ แอลลัน โพ นักเขียนชาวอเมริกันผู้เลื่องชื่อเป็นนวนิยายแนวสืบสวนชิ้นแรกของโลกที่มีรหัสลับปรากฏในเนื้อเรื่อง เรื่องราวลึกลับกลับการแก้ไขปริศนาอย่างมีตรรกะขั้นตอนทำเอารัมโปหลงเสน่ห์อย่างถอนตัวไม่ขึ้น ถึงขั้นใฝ่ฝันว่าอยากเป็นนักเขียนนวนิยายสืบสวนที่อเมริกา ดินแดนซึ่งเต็มไปด้วยสีสันแห่งวัฒนธรรม ประชานิยมที่กำลังเบ่งบานโดยเจ้าตัวเคยเขียนบันทึกไว้ว่า 'ที่ญี่ปุ่นไม่มีแม้แต่นิตยสารนวนิยายสืบสวน ถ้าใช้ภาษาอังกฤษได้เท่าคนอเมริกัน รับรองว่าฝีมือนั้นเราไม่มีทางด้อยกว่าแน่นอน' แต่ในที่สุดภาวะทางการเงินก็ทำให้เขาฝันสลาย เช้าทำงานในบริษัทนำเข้าและส่งออกสินค้าได้ไม่นานก็ลาออกจากนั้นเขาก็เปลี่ยนอาชีพเป็นว่าเล่นและอาศัยช่วงเวลานั้นรอโอกาสที่จะได้เป็นนักเขียน และแล้วในปีไทโชที่ 11 (ค.ศ1922) โอกาสที่เขาเฝ้ารอก็มาถึง เมื่อมีนิตยสารฉบับหนึ่งเปิดตัวโดยนำนวนิยายสืบสวนมาตีพิมพ์รวมกัน ซึ่งก็คือชินเซเน็น ฉบับปฐมฤกษ์ ทว่าในนั้นกลับเต็มไปด้วยนวนิยายแปลจากต่างประเทศ เนื่องจากยังเป็นของใหม่มากสำหรับนักเขียนญี่ปุ่น รัมโปจึงไม่รีรอที่จะลงมือเขียนนวนิยายสืบสวนจากจินตนาการของเขาซึ่งสั่งสมไว้ในหัวมาเนิ่นนาน ขณะนั้นอยู่ในช่วงฤดูร้อน รัมโปเป็นหนุ่มวัย 27 ปี เดือนเมษายน ปีไทโชที่ 12 (ค.ศ.1923) นิเซ็นโดกะ (เหรียญสองเซ็น) ผลงานเรื่องแรกที่เขาใช้เวลาเขียนเพียงไม่กี่วันก็ได้รับการตีพิมพ์ลงในนิตยสาร ชินเซเน็น โดยใช้นามปากกา 'เอโดะงาวะ รัมโป' เป็นครั้งแรก ซึ่งแน่นอนว่ามาจากชื่อของเอดการ์ แอลลัน โพ นักเขียนคนโปรดนั่นเองนวนิยายเปิดตัวของเขาสร้างความตื่นตะลึงอย่างยิ่งให้คนในสังคม เนื่องจากมีการใช้รหัสลับและต้องไขปริศนาด้วยไหวพริบปฏิภาณ ซึ่งผู้อ่านสามารถมีส่วนร่วมได้ ความระทึกตื่นเต้นในการชิงไหวชิงพริบที่ได้จากผลงานของรัมโปจึงมัดใจนักอ่านได้เป็นจำนวนมหาศาล เป็นอันว่าในที่สุดผลงานตามขนบแห่งนวนิยายสืบสวนขนานแท้ได้ถือกำเนิดขึ้นในญี่ปุ่น ด้วยฝีมือและมันสมองอันเฉียบคมของนักเขียนชาวญี่ปุ่นเอง กลายเป็นสิ่งเสริมสร้างความนิยมใน 'วรรณกรรมกระแสหลัก' ควบคุมไปกับนวนิยายประวัติศาสตร์ ให้เบ่งบานในสังคมญี่ปุ่นสมัยนั้น ด้วยเหตุนี้ เอโดะงาวะ รัมโป จึงได้ชื่อว่าเป็นนักเขียนผู้ริเริ่มให้นวนิยายแนวลึกลับสืบสวนหยั่งรากลึกลงในแวดวงวรรณกรรมญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาแห่งการก้าวสู่ยุคสมัยใหม่กระแสประชานิยมกลายเป็นเสาหลักในสังคม จนกระทั่งหลังเข้าสู่รัชสมัยโชวะ ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบก็ปรากฎขึ้นเพื่อตอบสนองกระแสดังกล่าว ไม่ว่าจะสถานเริงรมย์ประเภทไนต์คลับ คาบาเรต์ การแสดงรีวิวประกอบเพลง รัมโปจึงนำเอาสิ่งต่างๆ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมเข้ามาผนวกในงานเขียนหลังจาก นิเซ็นโดกะ ออกสู่สายตานักอ่าน เขาใช้เวลาสองปีคลอดผลงานเรื่องสั้นถึง 28 เรื่อง และเรื่องยาว 4 เรื่อง และใน D ซากะ โนะ สัตซีจิน จิเค็น (ฆาตกรรมบนเนิน D) ซึ่งออกเมื่อเดือนมกราคม ปีไทโชที่ 14 (ปี ค.ศ.1925) รัมโป ได้พาฮีโร่คนใหม่มาปรากฏโฉมในวงการนวนิยายสืบสวน ซึ่งก็คือ ยอดนักสืบอาเคจิ โคโกะโร นั่นเอง ในผลงาเรื่องสั้น ยาเนะอุระ โนะ ซำโปะฉะ (นักเดินเล่นใต้หลังคา) ทั้งนักสืบอาเคจิซึ่งใช้ความปราดเปรื่องไขคดีฆาตกรรมในห้องปิดตายได้อย่างดงาม และคนร้ายผู้คลั่งไคล้การเดินไต่ไปตามขื่อใต้หลังคาเพื่อส่องดูชีวิตของผู้คนในห้องเช่า ต่างได้รับการกล่าวขวัญชื่นชมในความแปลกแหวกแนว รัมโปเคยให้สัมภาษณ์ว่าเพื่อเขียนนวนิยายเรื่องนี้ เขาถึงขนาดเปิดฝ้าเพดานขึ้นไปดูสภาพใต้หลังคาเลยทีเดียว นับว่าแรงปรารถนาบิดเบี้ยวในใจมนุษย์และกลอุบายซับซ้อนในการก่อฆาตกรรมซึ่งปรากฏในผลงานดังกล่าว เกิดจากความช่างสังเกตและความอยากรู้อยากเห็นของเจาโดยแท้

เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว