มนุษยศาสตร์ที่แปรเปลี่ยนในโลกที่เปลี่ยนแปลง

ผู้เขียน: อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

สำนักพิมพ์: ศยาม/Sayam

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 (0) เขียนรีวิว

207.00 บาท

230.00 บาท ประหยัด 23.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 8 คะแนน

รวมบทความจากการประชุมวิชากรระดับชาติเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้ง 8 < แสดงน้อยลง รวมบทความจากการประชุมวิชากรระดับชาติเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้ง 8
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com เปิดคลังลด หนังสือลดเลย 10%

Tags: บทความ , ประชุมวิชาการ , สังคมศาสตร์ , มนุษยศาสตร์ , โครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย

207.00 บาท

230.00 บาท
230.00 บาท
ประหยัด 23.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 8 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
0 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.3 x 21 x 2.3 CM
น้ำหนัก
0.438 KG
บาร์โค้ด
9789743159312

รายละเอียด : มนุษยศาสตร์ที่แปรเปลี่ยนในโลกที่เปลี่ยนแปลง

มนุษยศาสตร์ที่แปรเปลี่ยนในโลกที่เปลี่ยนแปลง

เป็นหนังสือรวมบทความจากงานสัมมนาเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 8 เป็นการนำการศึกษามนุษยศาสตร์ที่ทำให้เ้ข้าใจความคิดเกี่ยวกับมนุษย์เข้ามาอยู่ในบริบทของประวัติศาสตร์ กรอบคิดหลักของเวทีวิจัยมนุษย์ศาสตร์ไทย ครั้งที่ 8 จึงเป็นการทำความเข้าใจปมประเด็นที่สำคัญของการศึกษามนุษยศาสตร์ ที่จะคืนการตัดสินใจหรือการปลดปล่อยให้แก่มนุษย์อันจำเป็นต้องพิจารณาสองมิติด้วยกัน มิติแรกได้แก่การทำให้เกิดความเข้าใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งต้องสัมพันธ์กันอีกมิติหนึ่งได้แก่ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโลก หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือการทำความเข้าใจในตำแหน่งแห่งที่ของมนุษย์แต่ละกลุ่มในสังคมที่รับรู้ตนเองและรับรู้โลกแตกต่างกัน และได้เลือกสรรแนวทางในการรับรู้ตนเองและรับรู้โลกมาชี้นำปฏิบัติการในชีวิตที่ไม่เหมือนกัน


คำนำ : มนุษยศาสตร์ที่แปรเปลี่ยนในโลกที่เปลี่ยนแปลง

ท่ามกลางกระแสการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดำเนินมา ความสนใจของผู้คนในสังคมล้วนแต่มุ่งไปสู่การศึกษาศาสตร์ต่าง ๆ ที่อรรถประโยชน์เชิงเศรษฐกิจโดยตรง ความรู้มนุษยศาสตร์ซึ่งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้น้อยจึงถูดจัดให้เป็นเพียงความรู้ที่จำเป็นต้องมีไว้ในสังคมเพื่อบ่งบอกถึงความมีอารยธรรมของสังคมไทยในแง่ที่ยังเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์เป็นสำคัญ แต่โดยปรกติแล้ว ความรู้มนุษยศาสตร์ไม่ได้รับความใส่ใจมากนัก นอกจากในแง่ที่ช่วยสอนภาษาต่างประเทศสำหรับการสื่อสารเบื้องต้นและช่วยจรรโลงความเป็นไทยทางจิตใจเพราะมนุษยศาสตร์ในสังคมไทยได้ถูกทำให้ผูกติดอยู่กับหน้าที่ในการสืบทอดวัฒนธรรมเดิมและการเสริมสร้างความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อสมาคมกับชาวตะวันตกได้อย่างไม่เคอะเขิน โดยผู้สอนและผู้เรียนวิชาทางมนุษยศาสตร์ไม่จำเป็นจะต้องคิดอะไรมากไปกว่าการใช้ภาษาต่างประเทศได้อย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์และการรักษาความเป็นไทยทางจิตใจเอาไว้อย่างมั่นคงตลอดไป หากบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสองด้านก็จะถือเป็นคุณค่าอันสูงส่งดีงามที่น่าภาคภูมิใจอย่างที่สุดแล้วของนักมนุษยศาสตร์ทั้งหลาย


สารบัญ : มนุษยศาสตร์ที่แปรเปลี่ยนในโลกที่เปลี่ยนแปลง

    • ถักถ้อยร้อยประเด็น : มนุษยศาสตร์ที่แปรเปลี่ยนในโลกที่เปลี่ยนแปลง
    • Keywords for Stusying Relion, Power and the self
    • การปฏิรูปกฎหมายและการศาลในเจ็ดหัวเมืองลายูในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึนต้นศตวรรษที่ 20
    • ชีวิตสามัญชนในภาคเหนือตอนล่างกับการก้าวสู่รัฐสมัยใหม่ของสยาม
    • ระบบกฎหมาย/ระบบตุลาการในยุคปฏิรูปกฎหมาย

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%